ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

พระปิดตา รุ่น ญาณวโร พระอาจารย์บุญเทียน ญาณวโร พักสงฆ์โชคอำนวย จ.นครพนม

พระปิดตา รุ่น ญาณวโร พระอาจารย์บุญเทียน ญาณวโร พักสงฆ์โชคอำนวย จ.นครพนม “พระอาจารย์บุญเทียน ญาณวโร” ที่พักสงฆ์โชคอำนวย หมู่ 11 ต.วังตามัว อ.เมือง จ.นครพนม พระเกจิสายป่าที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา ศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิดังภาคอีสาน วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม มีนามเดิมว่า บุญเทียน แสนบรรดิษฐ เกิดวันที่ 3 ต.ค.2521 ต.กุรุคุ อ.เมือง จ.นครพนม บิดา-มารดาชื่อ นายขันไทย และนางถนอม แสนบรรดิษฐ เป็นบุตรคนที่ 5 ในพี่น้อง 6 คน วัยเยาว์ จบชั้น ป.6 อายุ 22 ปี โรงเรียนในชุมชน พ.ศ.2547 บรรพชาที่อุโบสถวัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม มีพระสุนทรธรรมากร หรือ หลวงปู่คำพันธ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ คอยอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่คำพันธ์ ที่วัดป่ามหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก ที่มักไปจำพรรษา นั่งกัมมัฏฐานในช่วงกลางคืนนาน 6 ปี อุปสมบท วันที่ 17 ก.ย.2543 ณ ที่วัดธาตุมหาชัย มีพระสุนทรธรรมากร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์กิตติกมล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดสมัย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังอุปสมบท 1 ปี หลวงปู่คำพันธ์สอนวิชากัมมัฏฐาน เดินจงกรมนั่งสมาธิบำเพ็ญภาวนา จากนั้นจึงกราบลาเดินธุดงค์ตามป่าเขา จ.มุกดาหาร ในภาคเห
โพสต์ล่าสุด

พระปิดตา หลวงพ่อสำลี ญาณสุทโธ วัดห้วยยาง จ.ชลบุรี

พระปิดตา หลวงพ่อสำลี ญาณสุทโธ วัดห้วยยาง จ.ชลบุรี “หลวงพ่อสำลี ญาณสุทโธ” แห่งวัดห้วยยาง อ.พานทอง จ.ชลบุรี พระเกจิอาจารย์แห่งอำเภอพานทอง สืบสานตำนานการสร้างพระปิดตาจากหลวงพ่อเปิ้น วัดบ้านเก่า และหลวงพ่อโต วัดเนินสุทธาวาส ลักษณะพระปิดตารุ่นนี้ ด้านหลังเป็นยันต์นะขมวด ผสมมวลสารเป็นผงพระปิดตาของหลวงพ่อโตและหลวงพ่อเปิ้น วัดบ้านเก่า ซึ่งเป็นอาจารย์ผสมอยู่ด้วย จัดสร้างพระปิดตารุ่นนี้ในปี พ.ศ.2513 จัดสร้างทั้งหมด 3 สีคือ สีดำ สีขาว และสีเหลือง   อีกทั้งยังได้จัดสร้างพระปิดตาพิมพ์พิเศษคือ ได้ทาชาดลงรักปิดทอง จำนวน 500 องค์ จำนวนการสร้างสีละไม่เกิน 2,000 องค์ ปลุกเสกเดี่ยวจำนวน 1 พรรษา รายได้นำมาปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม ปัจจุบันกลายเป็นวัตถุมงคลดังในพื้นที่

พระปิดตา เสาร์ 5 มหาโภคทรัพย์ พระอาจารย์โชคดี วัดพิชัยญาติ กรุงเทพฯ

    “พระปิดตา” เป็นพระเครื่องประเภทหนึ่ง ซึ่งมีพุทธศิลปะเป็นเอกลักษณ์แตกต่าง จนกลายเป็นความโดดเด่นและได้รับความนิยม พุทธลักษณะของพระปิดตา เป็นรูปองค์พระที่ค่อนข้างอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ขึ้นปิดพระพักตร์ บางสำนักจะทำเป็นรูปมือเพิ่มอีก 2 ข้าง เอื้อมไปปิดทวารด้านล่าง (วงการเรียก“โยงก้น”) อีกด้วย ประวัติการสร้างพระปิดตาในสยามประเทศ เริ่มต้นในยุคอยุธยาตอนปลาย จากหลักฐานที่พบพระปิดตายุคแรกเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ พระปิดตากรุวัดท้ายย่าน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ต่อมาจึงมีการสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและพระปิดตาอื่นๆ เช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี เริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมา มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักจัดสร้างพระปิดตาขึ้นและได้รับความนิยมไปทั่ว ลักษณะเด่นของพระปิดตา นับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง “นัย” หรือ “ปริศนาธรรม” แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้ ในโอกาสอายุวัฒนมงคล 50 ปี พระครูวศินปริยัตยากร (พระอาจารย์โชคดี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม (วัดพิชัยญาติ) เขตคลองสาน กรุงเทพฯ ได้จัดสร้าง “พระปิดตา เสาร์ 5 มหาโภคทรัพย์